(+6688) 699-1112, (+662) 169-1781

ANN@ADLAW-ASSOCIATES.COM,
ANN@ADLAWADVICE.COM,
ANNVANNAPRATHIP@GMAIL.COM

Home > ARTICLES > เปิดกฎหมายแพ่งส่อง “สินสอดน้ำมนต์” ได้โดยเสน่หาหรือไม่หลังทราบวิธีการก่อนนำไป สู่การแต่งงานและมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง เรียกเงินสินสอดคืน

Thai banknote and cash isolated on white background

หลังทราบวิธีการก่อนนำไปสู่การแต่งงานและมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องเรียกเงินสินสอดคืน ทีมข่าวพีพีทีวีจะพาท่านผู้ชมไปเปิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องหมั้น สินสอด และสมรส ดูแล้วโอกาสที่ฝ่ายชายจะเรียกสินสอดคืนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายจนกว่าจะพิสูจน์ว่าเป็นการหลอกลวงมาตั้งแต่ต้น

โดยทั่วไป ประเพณีของไทย ก่อนจะมีการสมรส มักจะมีพิธีหมั้น ตกลงสินสอด และสมรส ไปตามขั้นตอน อาจจะเป็นคนละวันเวลา หรือในช่วงวัน เวลาเดียวกัน ติดต่อกันไป ตั้งแต่ขั้นตอน สู่ขอ หมั้น ตกลงค่าสินสอด และสมรสตามประเพณี ไปจนถึงจดทะเบียนสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายชายส่งมอบหรือโอนของหมั้นแก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรส เมื่อหมั้น ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

ส่วนสินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรส โดยมีเหตุมาจากหญิง หรือมีพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ส่วนของหมั้นหากหญิงผิดสัญญาให้คืนของหมั้น และหากฝ่ายใดผิดสัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิเรียกให้รับผิดชอบใช้ค่าทดแทนได้

สำหรับสินสอดกฎหมายระบุว่า 1.ต้องเป็นทรัพย์สิน ต้องตกลงให้ก่อนสมรส จะมอบให้ก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้ไม่จำเป็นต้องมอบให้ขณะทำสัญญา 2.ต้องให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของหญิง คนอื่นไม่มีสิทธิ หญิงบรรลุนิติภาวะรับหมั้นและตกลงจะสมรสกับชายด้วยตัวเอง แล้วเรียกเงินเป็นสินสอด เงินดังกล่าวก็ไม่ใช่สินสอด แต่เป็นการให้โดยเสน่หา 3.เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสมอบแล้วตกเป็นกรรมสิทธิเด็ดขาดของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ไม่ต้องรอให้มีการสมรสต้องเป็นการให้ โดยมีเจตนาจะจดทะเบียนสมรส ส่วนชายมอบเงินให้บิดา มารดาหญิง เพื่อขอขมา จากการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยทั้งคู่ไม่มีเจตนาสมรสตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นสินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชายอีกต่อไปชายเรียกเงินคืนไม่ได้

ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้ ใน 2 กรณี คือ 1.ไม่มีการสมรสโดยเหตุเกิดจากหญิง เช่น หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่นหรือถูกตัดสินจำคุก ที่สำคัญคือเรียกคืนได้เฉพาะที่เหลืออยู่เท่านั้น 2.ถ้าไม่มีการสมรส เช่น หญิงคู่ทิ้งชายไป หรือแต่งงานอยู่กินด้วยกันแล้ว ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย เป็นความผิดของฝ่ายหญิง ต้องคืนของหมั้น สินสอด แต่หากสมรสกันโดยตั้งใจไม่จดทะเบียนสมรส หรือเป็นความผิดของชายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือเพราะทั้งชายและหญิง ไม่สนใจต่อการจดทะเบียนสมรส ชายจะฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้

ADLAW & ASSOCIATES CO., LTD.
Silom 64 Building No. 64, Room 307, Floor 3,
Silom Road, Suriya Wong, Bang Rak, Bangkok, Thailand.

TEL: (+6688) 699-1112, (+662) 169-1781
EMAIL: ANN@ADLAW-ASSOCIATES.COM,
ANN@ADLAWADVICE.COM,
ANNVANNAPRATHIP@GMAIL.COM

COPYRIGHT © 2017 ADLAW & ASSOCIATES CO., LTD. ALL RIGHTS RESERVED